เพลงดีที่น่าฟังอีกเพลง

23 06 2011

Vodpod videos no longer available.





แบบประเมินการอ่าน ป.2

23 06 2011




การเขียนตัวแปร

21 06 2011

การเขียนตัวแปร
1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent variable) เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุ (Cause) ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ตัวแปรต้นเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น หรือจัดกระทำ (Treatment) เช่น แบบฝึกทักษะ วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ เป็นต้น ตัวแปรต้นจะมีผลต่อตัวแปรตาม ค่าตัวแปรต้นมีส่วนกำหนดค่าตัวแปรตาม
   2. ตัวแปรตาม (Dependent variable) เป็นตัวแปรซึ่งเป็นผลที่เกิดจากตัวแปรต้น เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้เกิดพฤติกรรมนั้น ๆ ค่าตัวแปรตาม ผันแปรตามค่าของตัวแปรต้น

การเขียนและการระบุตัวแปรในการวิจัย
การระบุตัวแปรสำหรับการวิจัย ถ้าเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจที่วัตถุประสงค์การวิจัยไม่ได้เปรียบเทียบกัน หรือ มีลักษณะเปรียบเทียบกัน ให้ระบุเฉพาะตัวแปรที่ศึกษา ไม่ต้องมีตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ถ้าเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจที่วัตถุประสงค์มีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบกัน หรือ เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง ให้ระบุทั้งตัวแปรต้น และตัวแปรตาม





การเขียนสมมุติฐานการวิจัย

21 06 2011

การเขียนสมมุติฐานการวิจัย
สมมุติฐานการวิจัย (Research hypothesis) เป็นการคาดคะเนผลของการวิจัยไว้ล่วงหน้า โดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออ้างอิงไปยังประชากร การกำหนด/เขียนสมมุติฐานการวิจัย ควรเขียนหลังจากที่ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรียบร้อย เพราะจะทำให้ผู้วิจัยมีเหตุผลในการกำหนดสมมุติฐาน
1.หลักการกำหนดและทดสอบสมมุติฐาน
1.1 มีข้อมูลพอเพียงเกี่ยวกับตัวแปร และ ความสัมพันธ์ของตัวแปร จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.2 มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Samples , not populations, are used.)
1.3 ผู้วิจัยต้องการจะใช้วิธีการ การทดสอบสมมุติฐาน
2.หลักการเขียนสมมุติฐานการวิจัย
2.1 งานวิจัยจะมีสมมุติฐานการวิจัย เมื่อวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นการเปรียบเทียบหรือมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบ
2.2 ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.3 สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่รู้กันทั่วไป หรือ มีทฤษฎี งานวิจัยรองรับ
2.4 ถ้ามีข้อมูลสนับสนุนพอเพียง ให้ตั้งสมมุติฐานว่า “สูงกว่า/น้อยกว่า” ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีข้อมูลสนับสนุนน้อย หรือไม่มีข้อมูลสนับสนุน ให้ตั้งสมมุติฐานว่า “แตกต่างกัน”
2.5 ใช้คำที่เข้าใจง่าย ชัดเจน เป็นข้อความที่คนทั่วไปเข้าใจได้ตรงกัน

 





เทคนิคการเขียนชื่องานวิจัย

21 06 2011

เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนชื่อเรื่องงานวิจัย
1. กะทัดรัด  มีความชัดเจนในตัวเอง
2. เห็นลักษณะของตัวแปร  กลุ่มตัวอย่าง  และขอบเขตของการวิจัย
3. ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่เชื่อถือได้ในวิชาชีพนั้น ๆ
4. เป็นประโยคที่สมบูรณ์  ข้อความ หรือวลีก็ได้

การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.สอดคล้อง/สัมพันธ์ กับชื่อเรื่องการวิจัย
2.ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร กับใคร ที่ไหน
3.ถ้าเรื่องที่วิจัยเกี่ยวข้องกับตัวแปรหลาย ๆ ตัว ควรเขียนแยกเป็นข้อ ๆ
4.ภาษาที่ใช้ต้องเข้าใจง่าย และแจ่มชัดในตัวเอง
5.สามารถเก็บข้อมูลได้ ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะถ้าเขียนแล้ว ผู้วิจัยไม่รู้ หรือไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ จะทำให้การวิจัยประสบความล้มเหลวได้